วิธีการเข้า console บอร์ด Raspberry PI โดยไม่ต้องต่อ ETHERNET ผ่าน USB to UART (TTL)
โดยปกติในการใช้งานบอร์ด Raspberry PI เนี่ยถ้าไม่ได้ต่อจอ ต่อคีย์บอร์ด เราจะใช้วิธีการ SSH ผ่านสายแลนที่เชื่อมต่อกับราสเบอรี่ไพใช่ไหมครับแต่วิธีนี้ก็มีข้อเสียสำหรับหลายๆ ท่านอยู่ เช่น
– ไม่มีสายแลน
– ก่อนจะ SSH ได้ต้องมี Ip address ของราสเบอรี่ไพก่อน
– Raspberry PI default ก็เป็น DHCP อีกจะหา IP ก็ยุ่งยาก จะเข้าไปตั้ง IP เองก็ทำไม่เป็น
– ถ้า Dropbear ยังไม่สตาร์ทไม่สามารถดู message log ได้เลยยกเว้นต่อจอ
– บางครั้งแก้ไขซอฟแวร์ไป interface ETHERNET ก็ยังไม่ Up อีก เลยไม่รู้เลยทำไมไม่ติด
– จะซื้อจอ ซื้อคีย์บอร์ดมาต่อดูก็ราคาแพงกว่าราสเบอรี่ไพอีก
– ปัญหาอีกสารพัดเชื่อได้เลยว่า หลายๆ ท่านต้องปวดหัวกันแน่นอน
แต่วิธีนี้สามารถแก้ไขได้ครับ โดยปกติบอร์ด Embedded Linux เนี่ยจะต้องมี console พอร์ตมาให้เราหนึ่งพอร์ต
เนื่องจากบางครั้ง ETHERNET เราก็ไม่สารถเชื่อมต่อได้และการเชื่อมต่อ console ผ่าน UART ก็สะดวกกว่าเจ้าราสเบอรี่ไพก็มีมาให้เหมือนกันหนึ่งพอร์ต แล้วมันอยู่ตรงไหนละให้สังเกตุไปที่พินโล้นๆ ของราสเบอรี่ไพนะครับ
*ขอบคุณภาพประกอบจาก Adrafruit
จากรูปเลยครับจะเห็นพินอะไรเยอะแยะไปหมดให้สังเกตุไปที่ pin GPIO14, GPIO15 และ GND ซะก่อน เราใช้แค่สามสายนี้ละครับก็พอแล้วโดยรูปแบบการเชื่อมต่อจะเป็นประมาณนี้ครับ
แล้วคอมพิวเตอร์ของเราจะเชื่อมกะฮาร์ดแวร์สมัยพระเจ้าเหาอย่าง UART อย่างไรละ พระเอกของเรามาแล้วครับตัวกลางระหว่างคอมพิวเตอร์และ Raspberry PI USB TO UART TTL
จะเลือกใช้ของไครก็ได้แต่ ขอที่เป็น TTL 3.3V และถ้าให้ดีก็ควรจะเป็นเป็น CHIP FTDI
ทำไมต้อง TTL 3.3V
– ตรงนี้ระวังหน่อยนะครับราสเบอรี่ไพไม่มีวงจรป้องกันไฟเกินถ้าไครจ่าย TTL 5V ไปอาจจะเสียบอร์ดรักไปเลยก็ได้นะครับ
ทำไมต้องเป็น CHIP FTDI ละ ?
– ไดรเวอร์เป็นมาตรฐานมาก ส่วนใหญ่ไม่ต้องลงไดรเวอร์เพิ่มบน Linux, Mac, Window จะติดตั้งให้เองเมื่อเสียบลงไป
– บน Raspberry PI โดย default จะใส่ไดรเวอร์ตัวนี้มาให้เลยทำให้เราสามารถแปลง USB Host ของ Raspberry PI เป็น UART ได้เหมือนกัน อิอิ ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว
ในตัวอย่างวันนี้เราเลยเลือก USB to UART จาก Thaieasyelec ครับคุณสมบัติน่าจะตรงที่เราต้องการพอดีและราคาก็ไม่สูงเกินไปด้วย
คุณสมบัติอ่านตามลิงค์ข้างล่างนี้ได้เลยนะครับ
http://www.thaieasyelec.com/Interface-Module/USB-Converter/Serial-UART-to-USB-mini-B-Converter.html
ถ้าไครมีอยู่แล้วหรือว่า มีตัวที่คุณสมบัติไกล้เคียงกันตรงตามที่เราบอกก็ใช้ได้เลยครับแต่อย่าลืมนะครับท่องไว้ 3.3V 3.3V อ่อสำคัญมาก USB to UART ของ Thaieasyelec สามารถเลือกได้ว่าจะเป็น 3.3V หรือว่า 5V ตาม jumper บนบอร์ดตรงนี้ขอให้ตรวจสอบก่อนให้ดีนะครับ
ถ้าพร้อมแล้วให้บรรเลงเอาทุกอย่างที่เรามีในบทความนี้มากต่อตามรูปเลยครับ
แนะนำหน่อยนะครับว่าสายไฟหาสีที่มันแตกต่างกันหน่อยเพื่อไม่ให้เสียนิสัยของนักพัฒนาและถ้าวันนึงสายมันเยอะอาจจะก่อให้เกิดปัญหาอย่างแน่นอน
เนื่องจากผู้เขียนหาได้เท่านี้่จริงๆครับ (ขัดสนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์) ถ้าจัดแจงต่อทางด้านฮาร์ดแวร์เรียบร้อย ให้หาซอฟแวร์ที่เปิดพอร์ต UART ได้ซักตัวนึงเช่น
Putty, Hyperterminal , Teraterm อะไรก็ว่ากันไปแต่ในตัวอย่างนี้ใช้ minicom ฮ่าๆๆ เพราะว่าเราจะโชว์บน Linux ครับ
ให้ตั้งค่า UART บนคอมพิวเตอร์เราดังนี้ครับ
– 115200 8N1
– Parity, None
– Hardware flow control ไม่ต้องใส่
ถ้าคนเคยใช้ซอฟแวร์ Serial console มาบ้างจะเข้าใจค่าด้านบนแต่ถ้าไครไม่เข้าใจโพสถามได้เลยนะครับตรงนี้ง่ายมาก
พอใส่ค่าเสร็จแล้วให้เปิด Terminal ของไครของมันเลยครับแล้วจ่ายไฟให้กับราสเบอรี่ไพได้เลย
ถ้าไครทำถูกต้องก็จะเห็น kernel message ค่อยๆ บูตขึ้นมาอย่างสวยงาม
จบแล้วครับกับทิบเล็กน้อยกับ Raspberry PI มาคอยติดตามดูว่าครั้งหน้าจะเป็นเรื่องอะไร ^^
อ่านจบแล้วก็ช่วยไลค์แฟนเพจหน่อยนะครับ
https://www.facebook.com/Deaware
ขอบคุณนะครับ กำลังหาข้อมูลอยู่พอดี
เพื่อความปลอดภัย แนะนำว่าอย่าพึ่งต่อ USB TO UART กับ Pi ครับ ให้ต่อกับคอมพิวเตอร์เท่านั้นก่อน แล้ววัดแรงดันว่า Tx, Rx มัน 3.3 โวลต์หรือเปล่า ก่อนเอาไปต่อกับ Pi
[…] https://www.deaware.com/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2-cons… […]