ถ้าจะเริ่มต้นทางด้าน Embedded Linux
ในปัจจุบันบอร์ดสำหรับนักพัฒนาที่สามารถลงระบบปฎิบัติการ Linux หรือ Android ได้ถือว่ามีหลายตัวเลือกให้เลือกสรรค์มาก ทำให้เกิดผู้ที่สนใจมากขึ้นจะมีคำถามมาทาง DEAWARE เสมอว่าควรจะเริ่มต้นที่บอร์ดพัฒนาบอร์ดไหนดี ชุดไหนคุ้มค่าที่สุด ดังนั้นบทความนี้จะขอเขียนแนะนำบอร์ดสำหรับนักพัฒนาที่สนใจ โดยอาจจะเป็นความเห็นส่วนตัวซึ่งสามารถเห็นแย้งได้นะครับและข้อดีข้อเสียอาจจะแตกต่างไปตามมุมมองของแต่ละบุคคล
เนื่องความต้องการของแต่ละบุคคลย่อมแตกต่างกันออกไป โดยบอร์ดที่จะนำเสนอมีดังต่อไปนี้ครับ
1. Beagle Bone
ผู้ท้่าชิงแรกเป็นน้องใหม่ค่ายเดียวกับรุ่นพี่ตัวเก๋าอย่าง BeagleBoard ด้วยความพยายามที่สร้างให้มีความคล้ายกับ Adruino และประกอบกับ Software ช่วยเหลือสำหรับผู้เริ่มต้นที่ถือว่าเยอะมากเช่น node.js ความง่ายในการเริ่มต้นพัฒนาแค่เสียบสาย USB เพียงเส้นเดียว
<img class="aligncenter" title="beagle_bone_hand" src="http://beagle.s3 discover here.amazonaws.com/graphics/beaglebone/beaglebone-in-hand.JPG” alt=”” width=”640″ height=”425″ />
เนื่องจาก TI กำหนดให้ CPU ที่ใช้บนบอร์ดตัวนี้เหมาะกับงาน อุตสาหกรรมอย่างยิ่งเนื่องจากมีโมดูลเสริมอย่าง PRU หรือส่วนในการติดต่อสื่อสารผ่านโพรโตคอลในอุตสาหกรรมอย่าง Ethercat, Profibus, Modbus ยังไม่รวมถึงไดรเวอร์ที่สามารถติดต่อสื่อสารผ่าน CAN interface ได้
บวกด้วยคุณสมบัติอย่างอื่นที่ครบครับเช่น กราพฟิกอย่าง PowerVR530 , Ethernet, USB Host และขนาดที่เล็กเหมาะแก้การทำหุ่นยนต์หรืออุปกรณ์ขนาดเล็กเหมาะสำหรับตั้งแต่ มือใหม่ ไปยันมือเก๋า และถ้าต้องการเริ่มต้นเรียนรู้พัฒนา Device Driver บน Linux ผมแนะนำตัวนี้ครับ
ส่วนข้อเสียเปรียบตัวอื่นคือ ปัจจุบันบอร์ดที่ประสิทธิภาพ CPU อย่างเดียวสูงกว่า Beagle Bone ถูกเข็นออกมาขายเยอะมาก และไม่มีฮาร์ดแวร์บนบอร์ดในการต่อเข้ากับจอ Monitor โดยตรงต้องอาศัย daughter board เพิ่ม
จุดเด่น
– ราคาถูกเพียง $89
– เหมาะกับงานอุตสาหกรรมเนื่องจาก TI ก็เจาะจงตลาดนี้อยู่แล้วสำหรับ CPU ตัวนี้
– มี IO ให้ใช้เยอะโดยสามารถเปลี่ยนโหมดขาได้หลากหลาย
– Community เยอะแน่นอนและมีการซัพพอร์ตจาก TI อย่างชุดพัฒนา SDK
– ขนาดเล็ก
จุดด้อย
– ไม่มี HDMI หรือ VGA ในการต่อออกจอนอก
– อุปกรณ์เสริมมีราคาแพง
บอร์ดตัวเก๋าที่มีอายุยาวนานที่สุดที่นำมาแนะนำในวันนี้
ด้วยประสิทธิภาพของ ARM-Cortex A8 ที่มีความเร็ว 1Ghz + DSP ทำให้มีความน่าสนใจสูงขึ้นมากทันที
จุดเด่นของบอร์ดนี้คือมี DSP ทำให้เราสามารถซื้อบอร์ดเพียงครั้งเดียวได้ศึกษาทั้งการทำงานของ ARM และ DSP ร่วมกันและเหมาะแก่การนำมาประยุกต์ใช้เป็นต้นแบบการทำงานที่ต้องมีเรื่อง Digital Signal Processing มาเกี่ยวข้องและด้วยตัวอย่างซอฟแวร์และ community ที่แข็งแกร่งมานาน ทำให้ซอฟแวร์ประยุกต์สามารถเริ่มต้นได้ง่ายเมื่อเทียบกับบอร์ดอื่นๆ
จุดแข็งของบอร์ดนี้คือ peripheral ที่ค่อนข้างสมบูรณ์เช่น USB Host , Ethernet, Audio, Microphone, HDMI etc… ทำให้สามารถประยุกต์ใช้งานด้าน multimedia ได้อย่างสมบูรณ์แบบ และด้วยการซัพพอร์ตจาก TI เช่นชุด SDK สำหรับ BeagleBoards โดยเฉพาะ และการได้เรียนรู้การเขียนซอฟแวร์บน DSP โดยผ่านไลบรารี่ของ TI อย่าง C6run
ข้อเสียของบอร์ดนี้คือในปัจจุบันราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับบอร์ดเด็กใหม่ๆ $149 และ ไดรเวอร์ที่ใช้ USB แทน ETH
จุดเด่น
– มีอุปกรณ์สำหรับงาน multimedia ค่อนข้างครบถ้วน
– มีการซัพพอร์ตจาก TI ด้านซอฟแวร์ที่ดี
– Community เยอะแน่นอน
– ได้ศึกษาการทำงานของ DSP
จุดด้อย
– ราคาทำให้ชั่งใจอาจจะกลายเป็นบอร์ดที่ CPU ดีกว่า
– อุปกรณ์เสริมมีราคาแพง
2. Panda Boards
บอร์ดที่เป็นที่ฮือฮา อยู่สมัยนึงสำหรับต่างประเทศและขาดตลาดอย่างรุนแรงในสมัยที่ออกมาใหม่ๆ
ด้วยประสิทธิภาพของ ARM-Cortex A9 ทำให้เป็นที่น่าสนใจของนักพัฒนาเป็นอย่างมาก
ด้วยความเร็วที่มากกว่า BeagleBoard พอสมควรและอุปกรณ์รอบตัวที่จัดจ้านไม่แพ้กันหรืออาจจะเด่นกว่าเนื่องจากมี WiFi และ BlueTooth รวมเข้ามาบนบอร์ดทำให้กลายเป็นตัวเลือกที่เรียกได้ว่า ทับตลาดกันเลยทีเดียวเนื่องจากราคาที่ไกล้เคียงกันมาก ($189)
บอร์ดนี้จริงๆ เรียกว่าเป็นบอร์ดโปรดของผู้เขียนเลยก็ได้เนื่องจากความน่าสนใจในการศึกษาการทำงาน SMP ของ ARM cpu หรือความเร็ว (1.2 Ghz dual-core ) ที่สามารถลงระบบปฏิบัติการต่างๆ ได้ครบเท่าที่จะลงบน ARM ได้ Android นี่เวอร์ชั่นใหม่ๆ บางทีลงบนบอร์ดนี้เร็วกว่ามือถือหลายๆรุ่นอีกครับและการซัพพอร์ตจาก community ที่ไม่น้อยจนเกินไป
ส่วนข้อเสียหลักๆของบอร์ดนี้คือ ปัจจุบัน 29/07/2555 ยังไม่มีการออกซอฟแวร์ SDK ซัพพอร์ตอย่างเป็นทางการจาก TI หรือ community ที่น้อยกว่าบอร์ด Beagleboard และไม่เหมาะสำหรับมือใหม่ที่เริ่มต้นเนื่องจากบอร์ดไม่มี pre-install Os มาให้ ทำให้อาจจะเหนื่อยในการจับทางการใช้งาน
จุดเด่น
– มีอุปกรณ์สำหรับงาน multimedia ค่อนข้างครบถ้วน
– Community เยอะ
– CPU ประสิทธิภาพสูงเหมาะแก่การศึกษาได้อีกนาน
จุดด้อย
– ราคาที่สูงพอสมควรเมื่อเทียบกับบอร์ดอื่นๆ
– ไม่มี pre install Os มาให้ทำให้ไม่เหมาะกับมือใหม่หรือผู้เริ่มต้น
– บอร์ดมีขนาดใหญ่กว่า BeagleBoard
3. ORDROID-X
บอร์ด Quad core บอร์ดแรกที่ถูกที่สุดในโลก คือคำโฆษณาหลักของผู้ท้าชิงหมัดหนักรายนี้ และเกิดมาเพื่อตีตลาด BeagleBoard หรือ PandaBoard อย่างจัง สังเกตุจากลองเซิจว่า “BeagleBoard” หรือว่า “PandaBoard” จะมีโฆษณาของ google แปะไว้ตรงหัว
ด้วยค่าตัวเพียง $129 และประสิทธิภาพที่สูงมากๆ เมื่อเทียบกับบอร์ดอื่นๆ ทำให้กลายเป็นตัวเลือกแรกๆ สำหรับนักพัฒนาที่น่าสนใจ บวกกับการซัพพอร์ตเรื่อง Android Os ของผู้ผลิตที่ค่อนข้างดี และยังใช้ CPU อย่าง Samsung Exynos4412 ทำให้ค่อนข้างมั่นใจได้ว่าจะมีการซัพพอร์ต BSP สำหรับตัว CPU เพื่อ Android เป็นอย่างดี และในปัจจุบันยังมีตัวอย่างการใช้งาน Ubuntu ซึ่งหมายความว่าสามารถลง Linux ในรูปแบบอื่นๆ ได้แน่นอน
การใช้งานด้าน Multimedia หรือความสามารถในการรันซอฟแวร์ย่อมต้องเหนือกว่าบอร์ดพัฒนาอื่นๆ ที่ยกมาในบทความนี้แน่นอนแต่สิ่งที่ต้องยอมรับคือ community น้อยกว่าบอร์ดอื่นๆ ทั้งหมดในทุกบทความแต่ก็ไม่ใช่ว่าการเริ่มต้นจะยากเกินไป
ส่วนจุดด้อยของบอร์ดนี้คือ ถ้าไครอยากเล่น Linux OS อื่นๆ ที่ไม่ใช่ Android หรือว่า Ubuntu อาจจะต้องออกแรงมากกว่าบอร์ดอื่นๆ และบอร์ดที่เป็น revision ใหม่มากคือ 0.1 แน่นอนหนีไม่พ้นเรื่อง บั้ก ของฮาร์ดแวร์ซึ่งเป็นเรื่องปกติของบอร์ดพัฒนาใหม่ๆ แต่ด้วยจุดเด่นที่มากกว่าจุดด้อยอย่างเหลือเฟือทำให้เป็นบอร์ดที่น่าสนใจอันดับต้นๆ ของปัจจุบันนี้แน่นอนครับ
จุดเด่น
– มีอุปกรณ์สำหรับงาน multimedia ค่อนข้างครบถ้วน
– CPU ประสิทธิภาพสูงเหมาะแก่การศึกษาได้อีกนานมาก
– ราคาถูกมากเมือเทียบกับความสามารถ
จุดด้อย
– ใหม่มากจนข้อมูลมีน้อยสำหรับผู้เริ่มต้นใหม่จะลำบาก
– ไม่มี pre install Os มาให้อยากได้ต้องซื้อเพิ่ม
4. Raspberry Pi
สุดยอดบอร์ดที่อาจจะดังที่สุดในตอนนี้เนื่องจากราคาค่าตัวเพียง $25 มาไทยราคาประมาณ ~1400 บาทนะครับ
ความสุดยอดของบอร์ดนี้คือความถูกครับ ทำให้มีคนแห่ไปเล่นเยอะมาก เดโมแอพพลิเคชั่นก็เยอะมากเช่นกัน อุปกรณ์เชื่อมต่อภายนอกก็มีครบถ้วนเท่าที่จำเป็นและ GPU ที่สามารถขับภาพวีดีโอความละเอียดสูงได้ ทำให้กลายเป็นตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจมากเลยครับ
ถ้าไครจะเริ่มต้นใหม่ๆ ด้วยงบประมาณที่จำกัดผมขอแนะนำตัวนี้ครับ ถึงแม้ CPU จะสู้บอร์ดอื่นไม่ได้ที่มาแนะนำในวันนี้แต่ถ้าต้องการแค่การเริ่มต้นบอร์ดนี้น่าจะเหมาะที่สุด บวกด้วยกำลังการผลิตตอนนี้ที่สูงขึ้นมากทำให้่ของต่อไปนี้ไม่น่าจะขาดตลาดแล้วครับ
จุดเด่น
– มีอุปกรณ์สำหรับงาน multimedia ค่อนข้างครบถ้วน
– ราคาถูกมากๆ
– มีซอฟแวร์เยอะมากสำหรับตัวอย่างการใช้งานบอร์ดและมีโปรเจคแปลกๆ ออกมาอย่างน่าสนใจ
– ได้รับความสนใจจากบริษัทใหญ่ๆหลายราย
– เหมาะแก่การทำคอมพิวเตอร์ราคาถูกใช้งาน
จุดด้อย
– CPU อาจจะไม่สู้กับตัวอื่นที่มาแนะนำในวันนี้แต่ก็เพราะราคาที่ถูก
สรุป !!!
โดยจากตัวเลือกไม่รวมตัวที่อาจจะไม่เหมาะกับการพัฒนาทั่วๆหรือยังไม่ออกอย่างแพร่หลายเช่น MK802 , VIA ARM Solution หรือบอร์ดที่เทคโนโลยีเก่าเช่น mini2440 ที่อาจจะมีราคาสูงเมื่อเทียบกับตัวด้านบนแต่มีดีที่จอทัชสกรีน
ทั้งห้าตัวด้านบนที่แนะนำมาต่างมีจุดเด่นจุดด้อยไปคนละหมัดสองหมัดอย่างกินกันไม่ลง
BeagleBone อาจจะเด่นไปทางด้านผู้ที่สนใจนำมาใช้ทาง อุตสาหกรรมเนื่องจากมี Realtime Module
BeagleBoard อาจจะเหมาะกับผู้ที่สนใจการใช้งาน DSP แบบ fixed point unit เพื่อมาทำ co-processor
PandaBord ประสิทธิภาพสูงด้วย Cortex A9 และ community ที่ดีอย่างเช่น Linaro
O-DROIDX ประสิทธิภาพสูงและคุ้มค่าที่สุดเมื่อเทียบราคาต่อ CPU
Raspberry Pi มันเกิดมาเพื่อการศึกษาอย่างแท้จริงทั้งราคาและความสามารถ
สุดท้ายการจะเลือกซื้อความสำคัญไม่ได้อยู่ที่ฮาร์ดแวร์ไครดีกว่าไครหรือว่า ไครแรงกว่าไคร จะกลายเป็นการวัดความสามารถในการประยุกต์ใช้ทำแอพพลิเคชั่นโดยใช้บอร์ดนั้นมากกว่า และเมื่อเสียเงินซื้อมาแล้วสิ่งที่ต้องคิดต่อไปคือจะทำอย่างไรให้ใช้งานคุ้มค่าที่สุด
และถ้าต้องการคำปรึกษาหรือว่าเริ่มต้นในการใช้งานอย่าลืมสามารถปรึกษา DEAWARE ได้นะครับเพราะบางทีการนั่งเสียเวลาหลายเดือนในการเริ่มต้นอาจจะเสียมากกว่าการเสียเงินเล็กน้อยนะครับ (ขอแอบโฆษณา)